Metaverse สําหรับค้าปลีกไทย ขึ้นกับหลายปัจจัย
และผู้ประกอบการอาจต้องเล็งให้ไกลกว่าตลาดในประเทศ
• Metaverse หนึ่งในเทรนด์การทําธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ (New retail) ที่ช่วยสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เร่งให้ผู้บริโภคคุ้นเคยกับการทํากิจกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้น สะท้อนได้จาก ผู้ประกอบการค้าปลีกในหลายประเทศอย่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ รวมถึงผู้ผลิตแบรนด์สินค้าแฟชั่นระดับโลก เช่น เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้ากีฬา เริ่มมีการปรับกลยุทธ์การแข่งขันเพื่อเข้าสู่โลก Metaverse มากขึ้น
• สําหรับประเทศไทย การทําธุรกิจค้าปลีกบน Metaverse อาจจะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และขับเคลื่อนโดยผู้เล่นรายใหญ่เป็นหลัก แต่ธุรกิจจะประสบความสําเร็จได้หรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยโดยเฉพาะความพร้อมของเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานกฎระเบียบต่างๆ ตลอดจนการยอมรับและการเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้บริโภค
• ในระยะข้างหน้า แนวโน้มการหดตัวของประชากรไทยในอีกไม่ถึง 10 ปี ข้างหน้า สะท้อนถึงปริมาณการบริโภคหรือการใช้จ่ายในภาคค้าปลีกที่อาจเปลี่ยนแปลงไปหรือเติบโตได้จํากัด ซึ่งการทําธุรกิจค้าปลีกบน Metaverse อาจจะไม่ได้เกิดจากการใช้จ่ายในภาพรวมของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น แต่อาจเป็นการดึงส่วนแบ่งรายได้มาจากช่องทางอื่นดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องชั่งนํ้าหนักถึงความคุ้มค่าในการลงทุน และการปรับตัวอยู่เสมอเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรง โดยการลงทุนใดๆผู้ประกอบการคงหนีไม่พ้นที่จะต้องมองให้กว้างกว่าตลาดในประเทศ แต่ยังมีความท้าทายทั้งใน เรื่องการแข่งขันพฤติกรรมผู้บริโภคตลอดจนกฎหมายหรือข้อบังคับของแต่ละประเทศที่น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในอนาคต
Metaverse เทรนด์ค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่ช่วยสร้างความแตกต่างและประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค
ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจที่รุนแรงและไม่แตกต่างกัน
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนทั่วโลกเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน คนส่วนใหญ่จําเป็นต้องใช้ชีวิตที่บ้านมากขึ้น การติดต่อทางกายภาพลดน้อยลง ยิ่งกลายเป็ นปัจจัยเร่งให้ผู้คนยอมรับการใช้เทคโนโลยีและคุ้นชินกับการติดต่อสื่อสารผ่านทางโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็ นการเรียนหนังสือออนไลน์ การทํางานออนไลน์ ตลอดจนการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-commerce) ซึ่งได้รับความนิยมตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด และมีทิศทางการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ยิ่งทําให้การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการหลายรายจึงพยายามมองหาช่องทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะถัดไปโดยแนวคิดโลกMetaverse1ที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจจะเป็นหนึ่งในช่องทางธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพที่จะเข้ามาพัฒนาการทําธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ (New retail) ที่ช่วยสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างและมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นให้แก่ผู้บริโภค เช่น การลองเสื้อผ้าเสมือนจริง (Virtual Fitting) การออกแบบ/ตกแต่งบ้านผ่านการใช้เทคโนโลยีAugmented Reality (AR) รวมถึงการจัดงานแฟชั่นโชว์ผ่าน Virtual Fashion show เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพที่สามารถเข้าสู่โลก Metaverse ได้ก่อน อาจมีความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค (First-mover advantage) ตลอดจนส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ทันสมัยของแบรนด์ ยิ่งเพิ่มโอกาสการเติบโตในอนาคตซึ่งปัจจุบัน ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่หลายรายเริ่มมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดําเนินธุรกิจเพื่อเข้าสู่โลกMetaverseไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ในสหรัฐฯที่เริ่มยื่นขอเครื่องหมายทางการค้าเพื่อขายสินค้าเสมือนจริง (Virtual Good) ตลอดจนมีแผนจะออกสกุลเงินดิจิทัล(Cryptocurrency) และอาจจะเปิ ดการซื้ อขาย NFTs (Non-Fungible Token) ในอนาคต เช่นเดียวกับธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ในเกาหลีใต้โดยเฉพาะในส่วนของ Home Shopping และ Duty Free มีแผนจะสร้างแพลตฟอร์มสําหรับการซื้อขายสินค้าบนโลก Metaverse ภายในช่วง 1-2 ปี นี้ (2565-2566) รวมถึงแบรนด์สินค้าแฟชั่นต่างๆ ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็ นแบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแบรนด์เนม แบรนด์เสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา ได้เริ่มมีการเปิดขายสินค้าเสมือนจริงและ NFTs เมื่อปีก่อน ตลอดจนมีการร่วมมือกับบริษัทเกมส์ชื่อดังเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ บนแพลตฟอร์ม Metaverse
การทําธุรกิจค้าปลีกบน Metaverse ของไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้น และน่าจะขับเคลื่อนโดยผู้ประกอบการค้าปลีก
และการร่วมทุนกับผู้ผลิตแพลตฟอร์มรายใหญ่
ขณะที่ การนําแนวคิด Metaverse มาปรับใช้กับธุรกิจค้าปลีกในไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งศูนย์วิจัยมองว่า
ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในระยะแรกคือ กลุ่มห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ เนื่องจากมีความพร้อมทั้งเรื่องเงินทุน มีฐานข้อมูลและมีความใกล้ชิดกับลูกค้ามาอย่างยาวนาน ทําให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี โดยรูปแบบธุรกิจคาดว่าจะเป็ นการร่วมลงทุน (Partnership) กับธุรกิจนอกภาคค้าปลีก โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีชั้นนํา หรือผู้ผลิตแพลตฟอร์ม/แอพพลิเคชั่นออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น โดยในช่วงที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ของไทยได้ร่วมลงทุนกับบริษัทซื้ อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในการสร้าง Digital Community เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลก Metaverse
ในส่วนของผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยหรือ SMEs การเข้าสู่โลก Metaverse ในช่วงแรกยังมีข้อจํากัดทั้งด้านเงินทุน เทคโนโลยีรวมถึงพนักงานหรือบุคลากร แต่ในระยะยาวคาดว่า ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวอาจอาศัยแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์หรือช่องทาง E-commerce ของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อเป็นตัวกลางในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลก Metaverse ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดังกล่าว เพื่อให้บริการแก่กลุ่มผู้ประกอบการรายกลางถึงย่อยไปบ้างแล้ว
ความสําเร็จในการทําธุรกิจค้าปลีกบนโลก Metaverse ในไทย ยังต้องใช้เวลาและขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
โดยเฉพาะความพร้อมด้านเทคโนโลยี ทรัพยากร และการตอบรับของผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การทําธุรกิจค้าปลีกบนโลก Metaverse ในไทยยังคงมีความท้าทายหลายประเด็น ทั้งในเรื่องของแนวคิดของโลก Metaverse ที่ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนาและต่อยอด ความพร้อมของเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อสู่โลก Metaverse ซึ่งในปัจจุบันมีราคาสูงและยังไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลาย ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมไปถึงการขาดแคลนองค์ความรู้และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Metaverse อีกจํานวนมาก และที่สําคัญ ยังมีความท้าทายในเรื่องการออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ สําหรับใช้บนโลก Metaverse ทั้งในประเด็นของการแข่งขันการทําธุรกรรมต่างๆ บนบล็อกเชน การคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัยทางไซเบอร์ตลอดจนประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสําคัญเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาในต่างประเทศได้มีกรณีการฟ้องร้องการละเมิดสิทธิในการผลิตและขาย NFTs เพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคนอกจากนี้การนําสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชําระค่าสินค้าและบริการในประเทศยังคงมีความท้าทายขณะเดียวกันการยอมรับและเข้าถึงเทคโนโลยีของผู้บริโภคก็เป็นสิ่งสําคัญรวมถึงคอนเทนต์และประสบการณ์ที่ได้รับจะต้องจูงใจมากพอที่จะทําให้ผู้บริโภคหันไปใช้เวลาบนโลก Metaverse มากกว่าโลกจริง
ค้าปลีกบนโลก Metaverse ของไทยอาจเป็นเพียงการดึงส่วนแบ่งรายได้จากช่องทางอื่นๆ จากแนวโน้มการ
เติบโตของธุรกิจค้าปลีกไทยในระยะข้างหน้าที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเติบโตได้จํากัด
นอกจากนี้ ประเด็นที่ต้องจับตาคือ แนวโน้มการบริโภคหรือการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกไทยในระยะข้างหน้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือเติบโตได้จํากัด จากอัตราการเกิดที่ทยอยลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จํานวนประชากรไทยมีแนวโน้มจะหดตัวในอีกไม่ถึง 10 ปีขณะเดียวกันจํานวนผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งจะกดดันภาพรวมการบริโภคในภาคค้าปลีกต่อไป ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การสร้างรายได้ในช่องทางค้าปลีกใหม่ๆ อย่าง Metaverse อาจจะไม่ได้เกิดจากการใช้จ่ายในภาพรวมของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นแต่เป็นการดึงส่วนแบ่งรายได้มาจากช่องทางอื่นๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มจะนํา Metaverse มาใช้ในธุรกิจค้าปลีกอาจจะต้องชั่งนํ้าหนักถึงความคุ้มค่าในการลงทุน ท่ามกลางการเผชิญการแข่งขันในภาคค้าปลีกที่รุนแรงขึ้น เพื่อแย่งชิงฐานลูกค้าที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือมีจํากัด โดยหากการลงทุนใดๆ ผู้ประกอบการคงหนีไม่พ้นที่จะต้องมองให้กว้างกว่าตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม การขยายตลาดในต่างประเทศแม้ว่าจะมีโอกาสในการขยายฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นแต่ผู้ประกอบการจําเป็นต้องศึกษาและทําความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละประเทศ อีกทั้งยังต้องเผชิญการแข่งขันกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ทั้งผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศนั้นๆ และผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงยังต้องศึกษากฎหมายหรือข้อบังคับในการทําธุรกิจค้าปลีกบนแพลตฟอร์มดิจิทัลของแต่ละประเทศที่อาจมีความเข้มงวดแตกต่างกัน เช่นจีนมีการอํานวยความสะดวกในการทํา Cross-border E-commerce ในเขตทดลองพิเศษ (CBEC pilot zone) ให้แก่ผู้ประกอบการต่างประเทศทั้งในเรื่องการลดภาษีนําเข้าการเพิ่มจํานวนสินค้าที่อนุญาตให้มีการซื้อขายและการขยายวงเงินการซื้อสินค้าของคนจีนขณะที่เวียดนามมีการออกมาตรการจัดเก็บภาษีธุรกิจ
E-commerce จากผู้ประกอบการต่างชาติโดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ไม่ได้มีการจัดตั้งธุรกิจในเวียดนามทั้งนี้กฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกิจค้าปลีกMetaverseในแต่ละประเทศยังไม่มีความชัดเจนซึ่งผู้ประกอบการจะต้องติดตามรายละเอียดของแต่ละประเทศอย่างใกล้ชิดต่อไป